โดยปกติการที่บุคคล #จะได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินของผู้อื่นที่ดินนั้นจะต้องเป็นที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์เสียก่อน จึงจะถูกอ้างการครอบครองปรปักษ์ได้ ที่ดินที่มีเพียงสิทธิครอบครองแม้จะมีเจตนาครอบครองอย่างเป็นปรปักษ์ก็หาได้ไปซึ่งกรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งเป็นสิทธิคนละประเภทกับสิทธิครอบครองที่มีอยู่แต่เดิมไม่ เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ดิน น.ส.3 ก. ที่มีเพียงสิทธิครอบครอง โจทก์จึงไม่อาจอ้างการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินพิพาทได้
เทียบฎีกาที่ 13969/2558
#ข้อสังเกต คดีตัวอย่างนี้ไม่มีประเด็นข้อพิพาทเรื่องแย่งการครอบครอง หากโจทก์ฟ้องประเด็นนี้แต่แรก อาจได้สิทธิครอบครอง เนื่องที่ดินพิพาทเป็นที่ดิน น.ส.3 ก. กล่าวคือ เป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (สิทธิครอบครองทำประโยชน์) เป็นหนังสือที่ทางราชการออกให้เพื่อรับรองว่าเจ้าของสามารถทำประโยชน์ในพื้นที่นั้นๆได้ โดยที่ดินจะมีระวางรูปถ่ายทางอากาศชัดเจน และมีการกำหนดตำแหน่งที่ดินในระวางรูปถ่ายทางอากาศไว้เป็นหลักแหล่ง ถึงแม้จะมีขอบเขตชัดเจน แต่ น.ส.3 ก. ก็ยังไม่ใช่โฉนด ยังไม่มีกรรมสิทธิ์ แต่สามารถซื้อขาย โอน จำนองธนาคารได้
ซึ่งตามกฎหมาย น.ส.3 ก. สามารถถูกแย่งสิทธิครอบครองได้ ในระยะเวลาแค่ 1 ปีเท่านั้น ซึ่งต่างจากการครอบครองปรปักษ์(กรณี น.ส.4) ซึ่งต้องครอบครองติดต่อกัน 10 ปีขึ้นไป จึงจะได้กรรมสิทธิ์ ฉะนั้นท่านเจ้าของที่ดินต้องพึงระมัดระวังให้มากนะครับ
#ทนายความเชียงใหม่ #ทนายเชียงใหม่